เมนู

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่คันถธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตต-
ปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอํานาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
5. คันถธรรม และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ ฯลฯ

21. อัตถิปัจจัย


[520] 1. คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย
มี 1 วาระ เหมือนกับปฏิจจวาระ.
2. คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
คันถธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
คันถธรรมทั้งหลายที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย.
3. คันถธรรมเป็นปัจจัยแก่คันถธรรม และธรรมที่ไม่
ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี 1 วาระ เหมือนกับปฏิจจ-
วาระ.
4. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ ฯลฯ
5. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรมทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ เพราะ
ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่คันถธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม
และธรรมี่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3, คันถธรรมและ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ เพราะ
ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น คันถธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่คันถธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย.
7. คันถธรรม และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็น
ปัจจัยแก่คันถธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่
อภิชฌากายคันถะ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อภิชฌากาย-
คันถะ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย
8. คันถธรรม และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ, สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ,
ปัจฉาชาตะ, ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่คันถธรรม และคันถธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
คันถธรรมทั้งหลาย และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่
คันถธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
คันถธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
คันถธรรม แสะสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย
นี้ ทีเกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
คันถธรรมทั้งหลายที่เกิดภายหลัง และกวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
คันถธรรมทั้งหลายที่เกิดภายหลัง และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

9. คันธรรม และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม เป็น
ปัจจัยแก่คันถธรรม และธรรมที่ไม่ใช่คันถธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่คันถธรรม และสีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และอภิชฌากายคันถะ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อภิชฌากาย-
คันถะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอํานาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย

การนับจํานวนวาระในอนุโลม


[521] ในเหตุปัจจัย มี 9 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ ใน
ปัจจัยทั้งปวง มี 9 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 3 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ ใน
กัมมปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 1 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 3 วาระ
ในอินทริยปัจจัย มี 3 วาระ ในฌานปัจจัย มี 3 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 9 วาระ